วัดปุรณาวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑ หมู่ที่ ๓ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินทั้งหมด ๑๒ ไร่ ๕๔ ตารางวา พื้นที่ตั้งของวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ มีถนนแยกจากถนนบรมราชชนนี เลียบคลองทวีวัฒนา ห่างจากถนนพุทธมณฑลสาย ๔ และสถานีรถไฟศาลายา ประมาณ ๑ กิโลเมตร
วัดปุรณาวาส เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ ครั้งแรกสร้างเป็นสำนักสงฆ์ก่อน ต่อมา ราว พ.ศ. ๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อเชื่อมโยงกับคลองดำเนินสะดวก ในมณฑลราชบุรี (หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ส ๐๒๙) ขุดตั้งแต่ คลองหน้าวัดชัยพฤกษ์มาลาจนถึงแม่น้ำนครชัยศรี เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมการสัญจร และการค้าขาย
ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๐๓ พระองค์ได้เสด็จตรวจคลองขุดมหาสวัสดิ์ เมื่อผ่านหน้าวัดปุรณาวาส ก็เป็นเวลาที่พระองค์ต้องทรงเสวยพระกระยาหาร พระองค์ได้ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ด้วย พร้อมทั้งมีรับสั่งถึงความเป็นมาของวัด ทายกทายิกาก็กราบทูลว่า “ไม่มีชื่อวัด” พระองค์ท่านมีพระราชกุศลศรัทธา พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มอบให้กับนายบุญ ผู้ริเริ่มสร้างวัด (แต่ยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่) ให้นายบุญสร้างพระอุโบสถขึ้น ๑ หลัง เพื่อจะได้เป็นวัดที่สมบูรณ์ และได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า“วัดราชบุญธรรม” แต่ก็ไม่มีใครเรียกขานกัน เมื่อนายบุญได้ทำการสร้างพระอุโบสถขึ้นแล้วเสร็จ ทางการก็ได้ให้เกียรติแก่นายบุญ ผู้สืบสานพระราชประสงค์ทำการสร้างพระอุโบสถขึ้น จึงได้ขนานนามวัดนี้ว่า “วัดบุญญาวาสราชศรัทธาธรรม” แต่ก็ไม่มีใครนำมาเรียกขานกัน
จนในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สมัยที่พระอธิการพร้อม ฐานิสสโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้มอบหมายให้พระมหาโชติ ทำการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดปุรณาวาส” และก็ใช้เรียกติดต่อกันจนถึงปัจจุบันนี้
แต่เดิมวัดปุรณาวาสแห่งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ในละแวกวัดเรียกกันว่า “วัดนก” เนื่องจากมีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และ มีนกอาศัยอยู่มากมาย มองดูแล้วร่มรื่นและบางทีก็มีคนเรียกว่า “วัดกลางคลอง” เพราะวัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างคลองวัดชัยพฤกษมาลากับแม่น้ำนครชัยศรี เมื่อวัดระยะแล้ววัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางพอด
วัดปุรณาวาส เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ ครั้งแรกสร้างเป็นสำนักสงฆ์ก่อน ต่อมา ราว พ.ศ. ๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อเชื่อมโยงกับคลองดำเนินสะดวก ในมณฑลราชบุรี (หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ส ๐๒๙) ขุดตั้งแต่ คลองหน้าวัดชัยพฤกษ์มาลาจนถึงแม่น้ำนครชัยศรี เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมการสัญจร และการค้าขาย
ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๐๓ พระองค์ได้เสด็จตรวจคลองขุดมหาสวัสดิ์ เมื่อผ่านหน้าวัดปุรณาวาส ก็เป็นเวลาที่พระองค์ต้องทรงเสวยพระกระยาหาร พระองค์ได้ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ด้วย พร้อมทั้งมีรับสั่งถึงความเป็นมาของวัด ทายกทายิกาก็กราบทูลว่า “ไม่มีชื่อวัด” พระองค์ท่านมีพระราชกุศลศรัทธา พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มอบให้กับนายบุญ ผู้ริเริ่มสร้างวัด (แต่ยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่) ให้นายบุญสร้างพระอุโบสถขึ้น ๑ หลัง เพื่อจะได้เป็นวัดที่สมบูรณ์ และได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า“วัดราชบุญธรรม” แต่ก็ไม่มีใครเรียกขานกัน เมื่อนายบุญได้ทำการสร้างพระอุโบสถขึ้นแล้วเสร็จ ทางการก็ได้ให้เกียรติแก่นายบุญ ผู้สืบสานพระราชประสงค์ทำการสร้างพระอุโบสถขึ้น จึงได้ขนานนามวัดนี้ว่า “วัดบุญญาวาสราชศรัทธาธรรม” แต่ก็ไม่มีใครนำมาเรียกขานกัน
จนในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สมัยที่พระอธิการพร้อม ฐานิสสโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้มอบหมายให้พระมหาโชติ ทำการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดปุรณาวาส” และก็ใช้เรียกติดต่อกันจนถึงปัจจุบันนี้
แต่เดิมวัดปุรณาวาสแห่งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ในละแวกวัดเรียกกันว่า “วัดนก” เนื่องจากมีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และ มีนกอาศัยอยู่มากมาย มองดูแล้วร่มรื่นและบางทีก็มีคนเรียกว่า “วัดกลางคลอง” เพราะวัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างคลองวัดชัยพฤกษมาลากับแม่น้ำนครชัยศรี เมื่อวัดระยะแล้ววัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางพอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น